แตงโม
แตงโม ผลไม้สีแดงน่ากินและยังช่วยคลายร้อนได้อย่างดีเยี่ยม รู้ไหมว่าสรรพคุณของแตงโมก็เปี่ยมคุณภาพ สารต้านอนุมูลอิสระก็เยอะ ไฟเบอร์ก็ไม่น้อย วิตามินก็ไม่พร่องเลยเชียว
ช่วงฤดูร้อน อากาศร้อนอบอ้าว หลาย ๆ คนนึกอยากได้ความชื่นใจจากแตงโม โดยเฉพาะแตงโมที่แช่เย็นพร้อมรับประทาน กินคำแรกก็ชุ่มปากชื่นคอคลายร้อนได้ดีมาก ๆ เลยใช่ไหมคะ แต่นอกจากประโยชน์ของแตงโมในข้อนี้แล้ว กระปุกดอทคอมอยากพาทุกคนมาล้วงลึกสรรพคุณของผลไม้สีแดงลูกโตที่ชื่อว่าแตงโมกันค่ะ เพราะผลไม้ราคาไม่แพงแถมยังหากินได้แทบจะทุกฤดูอย่างแตงโม สรรพคุณเขาไม่ธรรมดาเลยจริง ๆ
แตงโม ผลไม้ลูกโตที่อยากให้รู้จัก
แม้แตงโมจะเป็นผลไม้ที่เราคุ้นเคยกันมานมนาน แต่น้อยคนนักที่จะรู้จักแตงโมจริง ๆ ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักแตงโมในทุกด้านเลยค่ะ เริ่มจากแตงโมที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Watermelon มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Citrullus lanatus (Thunb.) Matsum & Nakai โดยแตงโมจัดเป็นพืชในวงศ์ CUCURBITACEAE พืชไม้เถาชนิดหนึ่งซึ่งมีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศทางตอนเหนือของแอฟฟริกา และได้กระจายเข้ามาทางตอนใต้ของทวีปเอเชียในศตวรรษที่ 11 กระทั่งเริ่มมีการขยายพันธุ์แตงโมไปปลูกในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะในแถบประเทศโซนอบอุ่น
แตงโม ลักษะทางพฤกษศาสตร์เป็นอย่างไร
แตงโมเป็นพืชล้มลุกอายุฤดูเดียว ลำต้นเป็นเถาไม้เลื้อยมีลักษณะเหลี่ยมเป็นข้อปล้อง ยาวประมาณ 2.5-5 เมตร ลำต้นแตกกิ่งน้อย มีสีเขียวอมเทาและมีขนแข็งปกคลุมที่ลำต้น ส่วนรากเป็นระบบรากแก้ว มีรากแขนง รากหยั่งลึกได้มากกว่า 1 เมตร
ส่วนใบแตงโมเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ออกใบเดี่ยวตามข้อปล้อง แผ่นใบเรียบสีเขียวเข้ม และมีขนแข็งปกคลุมทั้งด้านบนและด้านล่างใบ แผ่นใบบาง กรอบ ปลายใบมน ขอบใบหยักลึก 3-7 หยัก ตัวดอกเป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ คือ มีดอกตัวเมียและตัวผู้อยู่คนละดอก แต่อยู่ต้นเดียวกัน ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบ มีก้านดอกสีเขียวยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร
ผลแตงโมเป็นผลเดี่ยว ขนาดผลใหญ่ โดยเฉลี่ยแล้วน้ำหนักแตงโมจะหนักประมาณ 0.5-5 กิโลกรัมต่อลูก ผลมีลักษณะทรงกลมและทรงรี ตามแต่ชนิดสายพันธุ์ เปลือกผลเรียบโดยมีทั้งสีเขียวทั่วไป เขียวแกมเหลือง หรือสีเหลืองผสมลายประ ส่วนเนื้อแตงโมมีสีแดงและสีเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ และมีเมล็ดแทรกอยู่ตามเนื้อจำนวนมาก แตงโมแต่ละผลจะมีเมล็ดมากกว่า 200-600 เมล็ด โดยประมาณ หรือมีเมล็ดน้อยมาก ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
ทั้งนี้เมล็ดแตงโมจะมีลักษณะคล้ายหยดน้ำหรือรูปไข่ เมล็ดแบน ขอบเมล็ดมน เปลือกแข็งแต่ค่อนข้างบาง หากเปลือกเมล็ดอ่อนจะมีสีขาว แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่มากขึ้น กระทั่งเมล็ดจะกลายเป็นสีดำเมื่อผลแก่เต็มที่ และเราสามารถนำเมล็ดแตงโมมาคั่วกินเป็นของว่างเคี้ยวเพลินได้ด้วยนะคะ
แตงโม คุณค่าทางโภชนาการมีอะไรบ้าง
แตงโมเนื้อแดง 1 ส่วน ประมาณ 8 ชิ้นคำ (8x6x1.5 เซนติเมตร) มีน้ำหนักโดยเฉลี่ย 170 กรัม ให้คุณค่าทางโภชนาการดังนี้
พลังงาน 58 กิโลแคลอรี
น้ำ 156 กรัม
น้ำตาล 19 กรัม
ใยอาหาร 0.7 กรัม
เบต้าแคโรทีน 821 ไมโครกรัม
วิตามินซี 14 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 209 มิลลิกรัม
นอกจากนี้กองโภชนาการ กรมอนามัยยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ผลไม้สีแดงอย่างแตงโมสีแดงมีสารไลโคปีนและเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระคุณภาพดี อีกทั้งในเนื้อแตงโมยังมีวิตามินหลากหลาย ทั้งวิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 และวิตามินซีอีกด้วย
ส่วนแตงโมเนื้อสีเหลือง 1 ส่วน ประมาณ 5 ชิ้นคำ (7x6x1.5 เซนติเมตร) มีน้ำหนักโดยเฉลี่ย 180 กรัม ให้คุณค่าทางโภชนาการดังนี้
พลังงาน 59 กิโลแคลอรี
น้ำ 164 กรัม
น้ำตาล 11 กรัม
ใยอาหาร 2.3 กรัม
เบต้าแคโรทีน 38 ไมโครกรัม
วิตามินซี 8 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 185 มิลลิกรัม
แตงโม สรรพคุณมีดีกว่าแค่ช่วยคลายร้อน
ตำรับยาจากตำราแพทย์แผนไทยระบุว่า แตงโมมีสรรพคุณคุณทางยาแทบจะทั้งต้น ดังนี้
* รากแตงโมช่วยแก้บิด แก้ท้องร่วง แก้ร้อนในกระหายน้ำ
* เปลือกแตงโมแก้ปวดฟัน แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับปัสสาวะ
* ผลแตงโม ช่วยแก้ร้อนใน บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ แก้กระหายน้ำ แก้อ่อนเพลีย
* เมล็ดแตงโม ช่วยขับพยาธิ
นอกจากสรรพคุณทางยาของแตงโมที่ได้กล่าวไปแล้ว แตงโมยังมีประโยชน์ดี ๆ ต่อสุขภาพ ตามนี้เลยค่ะ
ประโยชน์ของแตงโม จัดเต็มเพื่อสุขภาพดี
เติมความสดชื่นให้ร่างกาย
เพราะส่วนประกอบของแตงโมมากกว่า 90% คือ น้ำ เมื่อทานแล้วจึงรู้สึกสดชื่น ดับกระหาย เติมน้ำให้ร่างกาย พร้อมกับช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใสไปในตัว
ช่วยในการย่อยอาหารและระบบขับถ่าย
แตงโมเป็นผลไม้ฉ่ำน้ำ โดยมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ค่อนข้างมาก อีกทั้งแตงโมยังมีกากใยอาหารค่อนข้างสูง ทั้งน้ำและไฟเบอร์จากแตงโมจึงมีส่วนช่วยในระบบย่อยอาหารของร่างกายอย่างเต็มที่ และยังดีต่อเนื่องมาถึงระบบขับถ่ายอีกด้วยล่ะ
ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
มีงานวิจัยเผยถึงประโยชน์ของกรดอะมิโนที่พบในน้ำแตงโมว่า ในน้ำแตงโมมีสารซิทรูลีน (Citrulline) กรดอะมิโนที่เป็นสารตั้งต้นในการสร้างกรดอะมิโนจำเป็นสำหรับร่างกาย อันเป็นสารที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการหลั่งโกรทฮอร์โมน ช่วยกระตุ้นการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตและช่วยควบคุมระบบการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ
ช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย
มีการทดลองให้อาสาสมัครรับประทานแตงโมวันละ 1,560 กรัม ติดต่อกัน 3 สัปดาห์ ซึ่งพบว่า ปริมาณอาร์จีนิน (กรดอะมิโนจำเป็นต่อร่างกาย) ในเลือดของอาสาสมัครเพิ่มขึ้นถึง 22% และเมื่อให้นักกีฬาดื่มน้ำแตงโม 500 มิลลิลิตร หรือดื่มน้ำแตงโมที่เติมสารซิทรูลีนก่อนออกกำลังกาย 1 ชั่วโมง พบว่า น้ำแตงโมทั้งแบบผสมและไม่ผสมจะช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจขณะฟื้นตัว และลดอาการปวดกล้ามเนื้อของนักกีฬาภายหลังออกกำลังกายได้ ซึ่งประโยชน์ของแตงโมในด้านนี้ยังถูกนำไปผลิตเป็นเครื่องดื่มช่วยฟื้นกำลังในนักกีฬาอีกด้วย
กระตุ้นการสร้างโปรตีน
แม้แตงโมจะไม่ใช่ผลไม้ที่มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบ ทว่ากรดอะมิโนในน้ำแตงโมสามารถกระตุ้นการสร้างโปรตีนในกล้ามเนื้อของอาสาสมัครที่รับประทานอาหารมีโปรตีนต่ำ โดยไม่มีผลกระทบต่อระบบหมุนเวียนโปรตีนในร่างกาย ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า กรดอะมิโนในน้ำแตงโมสามารถกระตุ้นการสร้างโปรตีนให้ร่างกายเราได้โดยไม่มีอันตรายใด ๆ ดังนั้นทางการแพทย์จึงนำประโยชน์ด้านนี้ของแตงโมมาผลิตเป็นอาหารเสริมโปรตีนให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีภาวะขาดสารอาหารจำพวกโปรตีน
ป้องกันโรคหืดหอบกำเริบ
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่น่าสนใจของแตงโมมีหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของหลอดเลือด ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัวและทำงานได้ตามปกติ อีกทั้งในแตงโมยังมีวิตามินซีค่อนข้างสูง โดยวิตามินซีก็มีส่วนช่วยเสริมความแข็งแรงให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ลดความเสี่ยงโรคหอบหืดได้อีกทาง
ลดความดันโลหิต
ผลการศึกษาจาก American Journal of Hypertension พบว่า สารสกัดจากแตงโมมีส่วนช่วยลดระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยที่เป็นโรคอ้วน รวมไปถึงผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในระดับ 1 ได้อย่างมีนัยยะสำคัญ
ดีต่อหัวใจ
ไลโคปีนในแตงโมมีส่วนช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดและความดันโลหิต อีกทั้งไลโคปีนยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการออกซิเดชั่นของไขมัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อหัวใจได้ นอกจากนี้การศึกษาจากมหาวิทยาลัยฟลอริดายังพบว่า ในแตงโมมีกรดอะมิโนซิทรูลีนค่อนข้างสูง และคนที่ได้รับกรดอะมิโนตัวนี้ประมาณ 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน จะช่วยลดความดันโลหิตได้ภายใน 6 สัปดาห์ โดยกรดอะมิโนซิทรูลีนจะช่วยร่างกายผลิตไนตริกออกไซด์ ทำให้หลอดเลือดขยายขึ้น การไหลเวียนของเลือดที่สูบฉีดเข้าหัวใจจึงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดโอกาสเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจก่อปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพหัวใจได้นานัปการ
ลดการอักเสบต่าง ๆ
โคลีนเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างหนึ่งซึ่งพบได้ในแตงโม โดยโคลีนมีส่วนช่วยในกระบวนการเรียนรู้ กระบวนการจดจำ กระบวนการเคลื่อนไหวของร่างกาย เนื่องจากโคลีนเป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่ง ที่สำคัญโคลีนยังช่วยลดการดูดซึมไขมันในร่างกาย จึงช่วยลดโอกาสเกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อชนิดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากไขมันเลวในเลือดได้
ป้องกันมะเร็ง
สารต้านอนุมูลอิสระทั้งไลโคปีนและเบต้าแคโรทีน รวมไปถึงวิตามินซีในแตงโมสีแดง ล้วนเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งในระบบทางเดินอาหาร รวมไปถึงลดโอกาสเกิดเนื้องอกร้ายในร่างกายสัตว์ทดลอง ทว่าสรรพคุณต้านมะเร็งในมนูษย์ของแตงโมยังจำเป็นต้องทำการศึกษาอย่างละเอียดต่อไปในอนาคตนะคะ
กินแตงโม อ้วนไหม ช่วยลดน้ำหนักได้หรือเปล่า ?
เชื่อว่าหลายคนมีความสงสัยอยู่ในหัวว่าแตงโมกินแล้วช่วยลดน้ำหนักได้หรือเปล่า งั้นเอาเป็นว่าลองมาส่องปริมาณน้ำตาลจากแตงโมกันหน่อยดีกว่า แล้วเราจะรู้เองว่ากินแตงโมแค่ไหนถึงไม่ไม่อ้วน
อย่างไรก็ตาม ถ้าอยากจะลดน้ำหนักจริง ๆ ควรลดปริมาณอาหารอื่น ๆ มากกว่าการทานผลไม้แต่เพียงอย่างเดียว เพราะอาจจะทำให้ขาดสารอาหารได้นะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บ : https://health.kapook.com/view32145.html
ช่วงฤดูร้อน อากาศร้อนอบอ้าว หลาย ๆ คนนึกอยากได้ความชื่นใจจากแตงโม โดยเฉพาะแตงโมที่แช่เย็นพร้อมรับประทาน กินคำแรกก็ชุ่มปากชื่นคอคลายร้อนได้ดีมาก ๆ เลยใช่ไหมคะ แต่นอกจากประโยชน์ของแตงโมในข้อนี้แล้ว กระปุกดอทคอมอยากพาทุกคนมาล้วงลึกสรรพคุณของผลไม้สีแดงลูกโตที่ชื่อว่าแตงโมกันค่ะ เพราะผลไม้ราคาไม่แพงแถมยังหากินได้แทบจะทุกฤดูอย่างแตงโม สรรพคุณเขาไม่ธรรมดาเลยจริง ๆ
แม้แตงโมจะเป็นผลไม้ที่เราคุ้นเคยกันมานมนาน แต่น้อยคนนักที่จะรู้จักแตงโมจริง ๆ ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักแตงโมในทุกด้านเลยค่ะ เริ่มจากแตงโมที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Watermelon มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Citrullus lanatus (Thunb.) Matsum & Nakai โดยแตงโมจัดเป็นพืชในวงศ์ CUCURBITACEAE พืชไม้เถาชนิดหนึ่งซึ่งมีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศทางตอนเหนือของแอฟฟริกา และได้กระจายเข้ามาทางตอนใต้ของทวีปเอเชียในศตวรรษที่ 11 กระทั่งเริ่มมีการขยายพันธุ์แตงโมไปปลูกในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะในแถบประเทศโซนอบอุ่น
แตงโมเป็นพืชล้มลุกอายุฤดูเดียว ลำต้นเป็นเถาไม้เลื้อยมีลักษณะเหลี่ยมเป็นข้อปล้อง ยาวประมาณ 2.5-5 เมตร ลำต้นแตกกิ่งน้อย มีสีเขียวอมเทาและมีขนแข็งปกคลุมที่ลำต้น ส่วนรากเป็นระบบรากแก้ว มีรากแขนง รากหยั่งลึกได้มากกว่า 1 เมตร
ส่วนใบแตงโมเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ออกใบเดี่ยวตามข้อปล้อง แผ่นใบเรียบสีเขียวเข้ม และมีขนแข็งปกคลุมทั้งด้านบนและด้านล่างใบ แผ่นใบบาง กรอบ ปลายใบมน ขอบใบหยักลึก 3-7 หยัก ตัวดอกเป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ คือ มีดอกตัวเมียและตัวผู้อยู่คนละดอก แต่อยู่ต้นเดียวกัน ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบ มีก้านดอกสีเขียวยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร
ผลแตงโมเป็นผลเดี่ยว ขนาดผลใหญ่ โดยเฉลี่ยแล้วน้ำหนักแตงโมจะหนักประมาณ 0.5-5 กิโลกรัมต่อลูก ผลมีลักษณะทรงกลมและทรงรี ตามแต่ชนิดสายพันธุ์ เปลือกผลเรียบโดยมีทั้งสีเขียวทั่วไป เขียวแกมเหลือง หรือสีเหลืองผสมลายประ ส่วนเนื้อแตงโมมีสีแดงและสีเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ และมีเมล็ดแทรกอยู่ตามเนื้อจำนวนมาก แตงโมแต่ละผลจะมีเมล็ดมากกว่า 200-600 เมล็ด โดยประมาณ หรือมีเมล็ดน้อยมาก ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
ทั้งนี้เมล็ดแตงโมจะมีลักษณะคล้ายหยดน้ำหรือรูปไข่ เมล็ดแบน ขอบเมล็ดมน เปลือกแข็งแต่ค่อนข้างบาง หากเปลือกเมล็ดอ่อนจะมีสีขาว แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่มากขึ้น กระทั่งเมล็ดจะกลายเป็นสีดำเมื่อผลแก่เต็มที่ และเราสามารถนำเมล็ดแตงโมมาคั่วกินเป็นของว่างเคี้ยวเพลินได้ด้วยนะคะ
แตงโมเนื้อแดง 1 ส่วน ประมาณ 8 ชิ้นคำ (8x6x1.5 เซนติเมตร) มีน้ำหนักโดยเฉลี่ย 170 กรัม ให้คุณค่าทางโภชนาการดังนี้
พลังงาน 58 กิโลแคลอรี
น้ำ 156 กรัม
น้ำตาล 19 กรัม
ใยอาหาร 0.7 กรัม
เบต้าแคโรทีน 821 ไมโครกรัม
วิตามินซี 14 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 209 มิลลิกรัม
นอกจากนี้กองโภชนาการ กรมอนามัยยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ผลไม้สีแดงอย่างแตงโมสีแดงมีสารไลโคปีนและเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระคุณภาพดี อีกทั้งในเนื้อแตงโมยังมีวิตามินหลากหลาย ทั้งวิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 และวิตามินซีอีกด้วย
ส่วนแตงโมเนื้อสีเหลือง 1 ส่วน ประมาณ 5 ชิ้นคำ (7x6x1.5 เซนติเมตร) มีน้ำหนักโดยเฉลี่ย 180 กรัม ให้คุณค่าทางโภชนาการดังนี้
พลังงาน 59 กิโลแคลอรี
น้ำ 164 กรัม
น้ำตาล 11 กรัม
ใยอาหาร 2.3 กรัม
เบต้าแคโรทีน 38 ไมโครกรัม
วิตามินซี 8 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 185 มิลลิกรัม
ตำรับยาจากตำราแพทย์แผนไทยระบุว่า แตงโมมีสรรพคุณคุณทางยาแทบจะทั้งต้น ดังนี้
* รากแตงโมช่วยแก้บิด แก้ท้องร่วง แก้ร้อนในกระหายน้ำ
* เปลือกแตงโมแก้ปวดฟัน แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับปัสสาวะ
* ผลแตงโม ช่วยแก้ร้อนใน บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ แก้กระหายน้ำ แก้อ่อนเพลีย
* เมล็ดแตงโม ช่วยขับพยาธิ
นอกจากสรรพคุณทางยาของแตงโมที่ได้กล่าวไปแล้ว แตงโมยังมีประโยชน์ดี ๆ ต่อสุขภาพ ตามนี้เลยค่ะ
เติมความสดชื่นให้ร่างกาย
เพราะส่วนประกอบของแตงโมมากกว่า 90% คือ น้ำ เมื่อทานแล้วจึงรู้สึกสดชื่น ดับกระหาย เติมน้ำให้ร่างกาย พร้อมกับช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใสไปในตัว
ช่วยในการย่อยอาหารและระบบขับถ่าย
แตงโมเป็นผลไม้ฉ่ำน้ำ โดยมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ค่อนข้างมาก อีกทั้งแตงโมยังมีกากใยอาหารค่อนข้างสูง ทั้งน้ำและไฟเบอร์จากแตงโมจึงมีส่วนช่วยในระบบย่อยอาหารของร่างกายอย่างเต็มที่ และยังดีต่อเนื่องมาถึงระบบขับถ่ายอีกด้วยล่ะ
ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
มีงานวิจัยเผยถึงประโยชน์ของกรดอะมิโนที่พบในน้ำแตงโมว่า ในน้ำแตงโมมีสารซิทรูลีน (Citrulline) กรดอะมิโนที่เป็นสารตั้งต้นในการสร้างกรดอะมิโนจำเป็นสำหรับร่างกาย อันเป็นสารที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการหลั่งโกรทฮอร์โมน ช่วยกระตุ้นการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตและช่วยควบคุมระบบการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ
ช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย
มีการทดลองให้อาสาสมัครรับประทานแตงโมวันละ 1,560 กรัม ติดต่อกัน 3 สัปดาห์ ซึ่งพบว่า ปริมาณอาร์จีนิน (กรดอะมิโนจำเป็นต่อร่างกาย) ในเลือดของอาสาสมัครเพิ่มขึ้นถึง 22% และเมื่อให้นักกีฬาดื่มน้ำแตงโม 500 มิลลิลิตร หรือดื่มน้ำแตงโมที่เติมสารซิทรูลีนก่อนออกกำลังกาย 1 ชั่วโมง พบว่า น้ำแตงโมทั้งแบบผสมและไม่ผสมจะช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจขณะฟื้นตัว และลดอาการปวดกล้ามเนื้อของนักกีฬาภายหลังออกกำลังกายได้ ซึ่งประโยชน์ของแตงโมในด้านนี้ยังถูกนำไปผลิตเป็นเครื่องดื่มช่วยฟื้นกำลังในนักกีฬาอีกด้วย
กระตุ้นการสร้างโปรตีน
แม้แตงโมจะไม่ใช่ผลไม้ที่มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบ ทว่ากรดอะมิโนในน้ำแตงโมสามารถกระตุ้นการสร้างโปรตีนในกล้ามเนื้อของอาสาสมัครที่รับประทานอาหารมีโปรตีนต่ำ โดยไม่มีผลกระทบต่อระบบหมุนเวียนโปรตีนในร่างกาย ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า กรดอะมิโนในน้ำแตงโมสามารถกระตุ้นการสร้างโปรตีนให้ร่างกายเราได้โดยไม่มีอันตรายใด ๆ ดังนั้นทางการแพทย์จึงนำประโยชน์ด้านนี้ของแตงโมมาผลิตเป็นอาหารเสริมโปรตีนให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีภาวะขาดสารอาหารจำพวกโปรตีน
ป้องกันโรคหืดหอบกำเริบ
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่น่าสนใจของแตงโมมีหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของหลอดเลือด ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัวและทำงานได้ตามปกติ อีกทั้งในแตงโมยังมีวิตามินซีค่อนข้างสูง โดยวิตามินซีก็มีส่วนช่วยเสริมความแข็งแรงให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ลดความเสี่ยงโรคหอบหืดได้อีกทาง
ลดความดันโลหิต
ผลการศึกษาจาก American Journal of Hypertension พบว่า สารสกัดจากแตงโมมีส่วนช่วยลดระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยที่เป็นโรคอ้วน รวมไปถึงผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในระดับ 1 ได้อย่างมีนัยยะสำคัญ
ดีต่อหัวใจ
ไลโคปีนในแตงโมมีส่วนช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดและความดันโลหิต อีกทั้งไลโคปีนยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการออกซิเดชั่นของไขมัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อหัวใจได้ นอกจากนี้การศึกษาจากมหาวิทยาลัยฟลอริดายังพบว่า ในแตงโมมีกรดอะมิโนซิทรูลีนค่อนข้างสูง และคนที่ได้รับกรดอะมิโนตัวนี้ประมาณ 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน จะช่วยลดความดันโลหิตได้ภายใน 6 สัปดาห์ โดยกรดอะมิโนซิทรูลีนจะช่วยร่างกายผลิตไนตริกออกไซด์ ทำให้หลอดเลือดขยายขึ้น การไหลเวียนของเลือดที่สูบฉีดเข้าหัวใจจึงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดโอกาสเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจก่อปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพหัวใจได้นานัปการ
ลดการอักเสบต่าง ๆ
โคลีนเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างหนึ่งซึ่งพบได้ในแตงโม โดยโคลีนมีส่วนช่วยในกระบวนการเรียนรู้ กระบวนการจดจำ กระบวนการเคลื่อนไหวของร่างกาย เนื่องจากโคลีนเป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่ง ที่สำคัญโคลีนยังช่วยลดการดูดซึมไขมันในร่างกาย จึงช่วยลดโอกาสเกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อชนิดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากไขมันเลวในเลือดได้
ป้องกันมะเร็ง
สารต้านอนุมูลอิสระทั้งไลโคปีนและเบต้าแคโรทีน รวมไปถึงวิตามินซีในแตงโมสีแดง ล้วนเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งในระบบทางเดินอาหาร รวมไปถึงลดโอกาสเกิดเนื้องอกร้ายในร่างกายสัตว์ทดลอง ทว่าสรรพคุณต้านมะเร็งในมนูษย์ของแตงโมยังจำเป็นต้องทำการศึกษาอย่างละเอียดต่อไปในอนาคตนะคะ
เชื่อว่าหลายคนมีความสงสัยอยู่ในหัวว่าแตงโมกินแล้วช่วยลดน้ำหนักได้หรือเปล่า งั้นเอาเป็นว่าลองมาส่องปริมาณน้ำตาลจากแตงโมกันหน่อยดีกว่า แล้วเราจะรู้เองว่ากินแตงโมแค่ไหนถึงไม่ไม่อ้วน
อย่างไรก็ตาม ถ้าอยากจะลดน้ำหนักจริง ๆ ควรลดปริมาณอาหารอื่น ๆ มากกว่าการทานผลไม้แต่เพียงอย่างเดียว เพราะอาจจะทำให้ขาดสารอาหารได้นะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บ : https://health.kapook.com/view32145.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น